
โรคท้องอืด ท้องเฟ้อ หรืออาหารไม่ย่อย (dyspepsia) เป็นอีกโรคหนึ่งที่พบได้บ่อย เป็นอาการผิดปกติของ ท้องหรือลำไส้ มักมีอาการบริเวณตรงกลางของท้องด้านบน อยู่ระหว่างใต้ลิ้นปี่และเหนือสะดือ ตัวอย่างอาการของโรคท้องอืด ได้แก่ ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แน่นท้อง มีการบีบรัดของลำไส้ ท้องหลาม ตึงๆ อืดๆ มีลม หรือแก๊สในกระเพาะอาหาร เรอเหม็นเปรี้ยว และอาจมีอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอกเหนือลิ้นปี่ และบางรายอาจมีคลื่นไส้ อาเจียน อิ่มเร็วร่วมด้วย ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอาการร่วมกันก็ได้
สาเหตุของโรคท้องอืด
สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคท้องอืดเกิดจากอาหาร หรือพฤติกรรมการกิน เป็นสำคัญ รองลงมาคือโรคของระบบทางเดินอาหาร ยาบางชนิด แอลกอฮอล์ กาเฟอีน บุหรี่ เป็นต้น โรคท้องอืดกับการกินอาหารอาหารที่คนเรากินอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของชาติ ถ้าไม่ถูกสุขลักษณะอนามัย ที่ดี ก็อาจทำให้เกิดอาการท้องอืดขึ้นได้ เริ่มตั้งแต่ชนิดของอาหาร (เพราะอาหารบางชนิดทำให้ท้องอืด แต่บาง ชนิดไม่ก่อให้เกิด) พฤติกรรมการกินอาหาร การกินลม เป็นต้น
การป้องกันอาการแน่นท้อง
ไม่ควรใช้ยาช่วยย่อยและยาขับลมรักษาตนเองในกรณีต่อไปนี้
มีอาการดีซ่าน (ตัวเหลือง ตาเหลือง) หรือสงสัยว่าเป็นโรคถุงน้ำดี โรคตับ
หากมีอาการแน่นท้อง เสียดท้อง ท้องอืดเรื้อรัง แม้ว่าได้พยายามป้องกันแล้ว ควรใช้
1. ยาธาตุน้ำแดง (Mixt. Stomachica)
คาร์มิเนทีฟ (Mixt. Carminative)
ซาลอล-เทนทอล (Mixt. Salol Menthol)
ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ หลังอาหาร
2. ยาเม็ดที่ดูดแก๊สในทางเดินอาหาร เช่น
ยาเม็ดผงถ่าน อุลตราคาร์บอน (Ultracarbon)
ยาเม็ดแฟลตูแลนซ์ (Flatulance)
ครั้งละ 1-2 เม็ด หลังอาหาร
3. ยาลดกรด
เป็นยาที่ใช้แก้อาการปวดท้อง จุกเสียด แน่น เนื่องจากมีแก๊สหรือกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป หรือใช้รักษาผู้ป่วยด้วยโรคกระเพาะอาหาร หรือลำไส้อักเสบ มีส่วนประกอบของอะลูมิเนียม ไฮดร็อกไซด์ (Aluminium hydroxide) และแมกนีเซียม ไฮดร็อกไซด์ (Magnesium hydroxide) ผสมอยู่ เช่น แอนตาซิล (Antacil), อะลัมมิลค์ (Alum milk), เกลูซิล (Gelusil)
ยาบางชนิดอาจทำปฏิกิริยากับยาลดกรดได้ เช่น
ไม่ควรใช้ยาลดกรดรักษาตนเองในกรณีต่อไปนี้